ลักษณะของชุมชนในสังคมไทย
สังคมชนบท หมายถึง เขตนอกเมือหลวงหรือเมืองใหญ่ๆ
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สภาพความเป็นอยู่คล้ายคลึงกัน
ชาวชนบทที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกันฉันท์มีความผูกพันฉันท์พี่น้อง
สังคมชนบทมีลักษณะเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ (
ครอบครัวขยาย ) สมาชิกในครอบครัวมักช่วยกันทำงานเพื่อผลิตอาหาร
ชาวชนบททำงานเป็นฤดูกาลมีความผูกพันกับศาสนา
ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีศาสนาอย่างเคร่งครัด
วัดเป็นศูนย์กลางรวมจิตใจของชาวชนบท รวมทั้งใช้ประกอบกิจกรรม พิธีกรรมต่างๆ
และใช้ด้านการศึกษา สภาพสังคมชนบทในปัจจุบันทำให้เกิดปัญหา 2
ประการ คือ
* ปัญหาทางสังคมซึ่งชาวชนบทต้องประสบ
เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาเศรษฐกิจ
* ปัญหาทางวัฒนธรรม
ปัจจุบันชาวชนบทได้รับวิทยาการสมัยใหม่ต่างๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่อชาวชนบทเป็นอันมาก
เช่น เครื่องจักรทุ่นแรงสำหรับการประกอบอาชีพ อุปกรณ์ที่ทำให้การดำรงค์ชีวิตได้รับความสะดวกสบายขึ้น
อันส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และมีความสิ้นเปลืองมากขึ้นตามไปด้วย
สังคมเมือง หมายถึง บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก
เป็นศูนย์กลางของความเจริญต่างๆ การคมนาคมสะดวก ประชาชนประกอบอาชีพหลากหลาย
ความสัมพันธ์ของคนในสังคมเมืองเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน
โดยมากมักจะติดต่อกันด้วยตำแหน่งหน้าที่การงาน ความจริงใจที่มีต่อกันน้อยมาก
ความสัมพันธ์ของชาวเมืองมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มต่างๆ
สังคมเมืองมีลักษณะเป็นครอบครัวขนาดเล็ก
( ครอบครัวเดี่ยว ) สมาชิกในครอบครัวมักจะประกอบอาชีพแตกต่างกัน
วัดเป็นเพียงแหล่งประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเท่านั้น
ไม่ได้เป็นศูนย์รวมจิตใจเหมือนกับสังคมชนบทพฤติกรรมของชาวเมืองจะยึดกฏหมายเป็นหลัก
เศรษฐกิจในสังคมเมืองจะมีความยุ่งยากมาก
ชุมชนชนบท
ชุมชนชนบท
เป็นเขตพื้นที่ที่พ้นจากตัวเมืองออกไป
หรืออาจเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเขตเทศบาล
เป็นเขตที่มีความเจริญทางด้านวัตถุน้อย
มีการรวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ประมง เลี้ยงสัตว์ หน่วยทางสังคมของชุมชนชนบท หมายถึง หมู่บ้าน
ซึ่งหมู่บ้านหมู่หนึ่งอาจมีจำนวนประชากรปประมาณ 20 ครัวเรือน
ถึง 100 ครัวเรือนก็ได้
ลักษณะทั่วไปของสังคมชนบท
สังคมไทยาเป็นสังคมเกษตรเพราะประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพทางการเกษตร
ดังนั้นสังคมชนบทจึงจัดได้ว่า เป็นโครงสร้างที่สำคัญที่สุดของสังคมไทย
ลักษณะทั่วไปของสังคมชนบทจะมีลักษณะ ดังนี้
(1) ครอบครัวเป็นหน่วยสำคัญของเศรษฐกิจ
เป็นทั้งหน่วยการผลิตและหน่วยบริโภค
สิ่งของเครื่องใช้และอาหารจะผลิตขึ้นใช้เอง และยังมีดภาระหน้าที่อื่น
ๆ เช่น ถ่ายทอดความรู้ทางอาชีพ
อบรมสั่งสอนเรื่องคุณธรรมให้แก่สมาชิกในครอบครัว เป็นต้น
(2) สมาชิกของครอบครัวมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น
สมาชิกในชุมชนจะให้ความสำคัญในเรื่องความเป็นมิตรต่อเพื่อนบ้าน
มีการติดต่อกันแบบเป็นกันเอง เอื้อเฟื้อและจริงใจต่อกัน
(3) ลักษณะของครอบครัวเป็บแบบครอบครัวขยาย สมาชิกประกอบด้วยหลาย ๆ
ครอบครัว ซึ่งเป็นเครือญาติกัน
มาอยู่รวมในครัวเรือนเดียวกันหรือบริเวณใกล้เคียงกัน
(4) วัดเป็นสถานที่สำคัญในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ
ทางศาสนาเป็นแหล่งสำคัญในการให้การศึกษาและอบรมาบ่มนิสัยแก่ประชาชน
ค่านิยมในเรื่องคุณความดีทางศาสนาเป็นตัวควบคุมความประพฤติของคนในชุมชน
(5) ชาวชนบทส่วนใหญ่ยึดมั่นอยู่กันประเพณีเดิมเป็นอย่างดี
ไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง
(6) ชาวชนบทจะพึ่งสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ
ทำให้ผูกพันกับความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไสยศาสตร์ โชคลาง
หรือสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ
(7) ชาวชนบทส่วนใหญ่จะยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนทางศาสนาและเข้าร่วมพิธีกรรมต่าง
ๆ อย่างพร้อมเพรียงกัน เช่น งานบวช งานศพ และงานบุญต่าง ๆ
(8) ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ต่ำมาก เมื่อเทียกับความหนาแน่นของประชากร
สังคมเมือง (Urban
Society)
สังคมเมือง หมายถึง
ที่อยู่ในเขตเทศบาลที่มีประชากรหนาแน่นตั้งแต่ 2,500 คนต่อตารางกิโลเมตร
เป็นชุมชนที่มีศูนย์กลางของความเจริญด้านการปกครอง การเศรษฐกิจ
สังคมและวัฒนธรรมของธรรมชาติโดยทั่วไปถือว่าเขตที่มีประชากรอยู่รวมกันประมาณ 20,000
คนขึ้นเป็นชุมชนเมือง
ลักษณะทางสังคมวิทยาของสังคมเมือง
การใช้เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม (Industrial Technology) เนื่องจากการพัฒนาเครื่องยนต์กลไกเพื่อผลิตสินค้าจำนวนมาก
จึงต้องการแรงงานด้านเทคนิคในการทำงานอุตสาหกรรม
การประกอบอาชีพจะเป็นรูปของการแบ่งงานกันตามความชำนาญเฉพาะอาชีพ
ลักษณะทั่วไปของสังคมเมือง
คนเมืองถือตามเขตที่อยู่ในปกครองและการปรับปรุงของเทศบาลทั้งเทศบาลนคร
เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล สัดส่วนทางเพศของชาวเมือง คือ เป็นชายมากกว่าหญิง
(เช่นเดียวกับประเทศด้อยพัฒนาทั่วไป) ประชากรวัยหนุ่มสาวมีมากกว่าเด็กและวัยชรา
สังคมชนบท (Rural
Society)
สังคมชนบทมีลักษณะเด่นที่สำคัญ
คือ บุคคลมีความสำคัญแบบคุ้นเคยเห็นหน้ากันและกัน เป็นประจำ
ผู้คนส่วนใหญ่มีชีวิตร่วมกันในสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนา เป็นต้น
ซึ่งเป็นแนวคิดและการปฏิบัติตนของคนทั่วไปในสังคม
ลักษณะทางสังคมวิทยาของสังคมชนบท
ขนาดของชุมชน
โดยทั่วไปสังคมชนบทจะมีขนาดเล็ก ความหนาแน่นของประชาการน้อย
อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มตามขนาดไร่นา ลักษณะ หมู่บ้านเป็นแบบดั้งเดิม กลุ่มของสังคมหรือสถาบันมีขนาดเล็ระบบเครือญาติ
เป็นระบบพื้นฐานของสังคมชนบทซึ่งมีความผูกพันต่อกันในลักษณะครอบครัวและเครือญาติ
บรรยากาศของความสัมพันธ์จะเต็มไปด้วยความเป็นกันเองและมั่นคง
เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสังคมชนบทกับสังคมเมือง
ความแตกต่างของสังคมชนและกับสังคมเมือง
จะเห็นความแตกต่างดังต่อไปนี้
ภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมธรรมชาติ
( Natural Environment ) ผู้ที่อาศัยอยู่ในภูมิประเทศหรือภูมิอากาศ
ที่แตกต่างกันเช่น พวกที่อาศัยอยู่ในเขตอากาศร้อน อากาศหนาว อยู่ที่ราบ หรือ
แถบภูเขา มีอิทธิพลทำให้มนุษย์ชาวชนบทอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ เช่นไร่ สวน
ท้องนา ป่า ทะเล ภูเขา ฯลฯ ส่วนเมืองแวดล้อมไปด้วย
สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นประดิษฐ์ขึ้น เช่น ตึก อาคาร สถานที่ราชการ ฯลฯ
สรุป
สังคมเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์และได้วิวัฒนาการมาตามลำดับ
สังคมเป็นผลของสัญญาที่มนุษย์ตกลงจัดทำขึ้นด้วยความสมัครใจของมนุษย์เอง
เพื่อความสุขสมบูรณ์และความเป็นระเบียบ วัตถูประสงค์ของการจัดตั้งสังคมขึ้น
เพื่อขจัดความซึ่งโหดร้าย ความยุ่งยากซับซ้อน และความสับสนต่างๆ
ตามสภาพธรรมชาติของมนุษย์ แนวความคิดของนักปราชญ์ กลุ่มนี้เรียกกลุ่ม “ ทฤษฏีสัญญาสังคม
“ “ทฤษฏีเน้นถึงธรรมชาติ” กล่าวคือ
ทฤษฏีนี่เชื่อว่ามนุษย์ดั้งเดิมนั้นอยู่รวมกันสังคมเช่นปัจจุบัน
คือมนุษย์ได้อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ แต่เนื่องจากความชั่วร้าย ความยุ่งยากสับสน
การเพิ่มจำนวนมนุษย์ ตลอดจนอารยธรรม เป็นเหตุให้มนุษย์ต้องละทิ้งธรรมชาติและสัญญาด้วยความสมัครใจที่จะรวมกันในสังคม
ทั้งนี้โดยมุ่งหวังที่จะได้รับความคุ้มครองและประโยชน์สุขเป็นการตอบแทน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น