กิจกรรม(Activity)
1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เรื่อง ประเภทของหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร
1. หลักสูตรบูรณาการ (The
Integrated Curriculum) เป็นการผสมผสานเนื้อหาเข้าด้วยกัน
ไม่แยกเป็นรายวิชาจะเน้นที่ตัวเด็ก และปัญหาสังคมเป็นสำคัญ เช่น หลักสูตรประถมศึกษา
พ.ศ. 2521
2.หลักสูตรกว้าง(The
Broard Field Curriculum) จุดมุ่งหมาย ผสมผสานเนื้อหาวิชา เช่น
หลักสูตรประถมศึกษา และหลักสูตรมัธยมศึกษา พ.ศ. 2503
3.หลักสูตรประสบการณ์ (The
Experience Curriculum) เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบรายวิชาที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
4.หลักสูตรรายวิชา ( The
Subject Curriculum) หลักสูตรที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชา
5.หลักสูตรแกน (The
Core Curriculum) หลักสูตรแบบนี้จะกำหนดวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นศูนย์กลาง
6.หลักสูตรแฝง (Hidden
curriculum) เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กำหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้าและเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่ได้ตั้งใจจะจัดให้
7.หลักสูตรสัมพันธ์วิชา ( Correlated
Curriculum) เป็นหลักสูตรที่นำเนื้อหาต่างๆ
ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจัดไว้ด้วยกัน
8.หลักสูตรเกลียวสว่าน (Spiral
Curriculum) เป็นการจัดเนื้อหาหรือหัวข้อเนื้อหาเดียวกันในทุกระดับชั้น
แต่มีความยากง่ายและความลึกซึ้งแตกต่างกัน
9.หลักสูตรสูญ (Null
curriculum) เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มีปรากฏอยู่ให้เห็นในแผนการเรียนรู้
และเป็นสิ่งที่โรงเรียนไม่ได้สอนทางเลือกที่ไม่ได้จัดเตรียมไว้ให้ผู้เรียน
ความคิดและทรรศนะที่ผู้เรียนไม่เคยสัมผัสและเรียนรู้สิ่งที่ผู้เรียนจะนำไปประยุกต์ใช้ได้แต่มีไว้ไม่พอ
รวมทั้งความคิดและทักษะที่ไม่ได้รวมไว้ในกิจกรรมทางปัญญา
การออกแบบหลักสูตร (curriculum
design)
การจัดรายละเอียดองค์ประกอบของหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมาย จุดหมาย
เนื้อหาสาระ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผล
ดังนั้นหากจะเปรียบการพัฒนาหลักสูตร คือ การสร้างบ้าน
การออกแบบหลักสูตรก็คือการออกแบบให้ได้มาซึ่งพิมพ์เขียว หรือรูปแบบของบ้าน
ที่มีรายละเอียดของห้องต่าง ๆ เป็นการจัดส่วนประกอบต่าง ๆ
ของบ้านให้เหมาะสมกลมกลืน เหมาะกับการใช้งาน
ส่วนประกอบหลักสูตร 4
ส่วนหลัก
1.เป้าหมาย จุดหมาย
และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
2.เนื้อหาสาระ
3.กิจกรรมการเรียนการสอน
4.การประเมินผล
ออนสไตน์และฮันคินส์ และ
เฮนเสน กล่าวไว้สอดคล้องกันว่า การออกแบบหลักสูตรที่ดีต้องมีหลักในการพิจารณา 6
ประการดังนี้
1. การกำหนดขอบข่ายหลักสูตร หมายถึง
การกำหนดเนื้อหา สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นสำคัญต่าง ๆ แนวคิด ค่านิยม
หรือคุณธรรมที่สำคัญ สำหรับผู้เรียนในรายวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรแต่ละระดับชั้น
2. การจัดลำดับการเรียนรู้ หมายถึง การจัดลำดับก่อนหลังของเนื้อหา
สาระการเรียนรู้ หัวข้อ ประเด็นที่สำคัญต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปตาม วัย
วุฒิภาวะ และพัฒนาการทางสติปัญญา
3. ความต่อเนื่อง หมายถึง การจัดเนื้อหา
ประสบการณ์ การเรียนรู้ ทักษะต่าง ๆ ให้มีความต่อเนื่องตลอดหลักสูตร
หลักสูตรที่ดีนอกจากมีการจัดขอบข่ายและลำดับการเรียนรู้ที่ดีแล้ว
ยังต้องมีความต่อเนื่องของเนื้อหาที่เหมาะสมอีกด้วย
4. สอดคล้องเชื่อมโยง การจัดหลักสูตรที่ดีควรคำนึงถึง
ความสอดคล้องเชื่อมโยง ให้มี ความต่อเนื่องกันของเนื้อหา ประสบการณ์การเรียนรู้
และทักษะที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน เช่น การจัดหลักสูตรสังคมศึกษา ชั้น ม.1
ให้เนื้อหาภูมิศาสตร์ประเทศไทยมีความสัมพันธ์สอดคล้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาประวัติศาสตร์ไทย
เป็นต้น
5. การบูรณาการ
เป็นการจัดขอบข่ายเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยง
จากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งของรายวิชานั้น หรือ
จากรายวิชาหนึ่งไปยังอีกรายวิชาหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกัน
6. ความสมดุล หลักสูตรที่ดีนอกจากจะต้องคำนึงถึงการจัดขอบข่ายเนื้อหา
และมีลำดับการเรียนรู้ ที่ดีแล้ว ยังควรต้องพิจารณาด้านความสมดุลของเนื้อหา
ประสบการณ์การเรียนรู้ และทักษะของรายวิชาต่าง ๆ
ความสมดุลระหว่างเนื้อหาสาระกับวุฒิภาวะของผู้เรียน ความสมดุลของหลักสูตร
จึงเป็นสิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องให้ความสนใจ
ประโยชน์ของการออกแบบหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตรที่ดีจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา
ฮอลล์ (Hall.1962 อ้างถึงใน ปราณี สังขะตะวรรธน์และสิริวรรณ
ศรีพหล. 2545 : 97 – 98)
ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการออกแบบหลักสูตรไว้ ดังนี้
1.การออกแบบเป็นการเน้นที่เป้าหมาย จุดหมาย
และวัตถุประสงค์ของงานเป็นสำคัญ
การออกแบบหลักสูตรจึงเป็นการสร้างความมั่นใจว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้น
สามารถนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ
หรือจุดหมายของการจัดการศึกษานั้นได้
2.การออกแบบหลักสูตรที่ดีช่วยเพิ่มโอกาสของความสำเร็จในการจัดการศึกษา
การออกแบบเป็นการจัดองค์ประกอบหลักสูตรทั้ง 4
ที่จะเป็นแนวทางให้กับผู้ใช้หลักสูตรได้ดำเนินการ
โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย การให้สาระความรู้ที่จำเป็น
วิธีการนำเสนอสาระความรู้ หรือ แนวการดำเนินการเรียนการสอน
และการประเมินผลหรือการตัดสินว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่เพียงใด
3.การออกแบบช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน การออกแบบเป็นการสร้างพิมพ์เขียว
เพื่อให้ผู้ใช้หลักสูตรได้เห็นประสบการณ์ที่จำเป็นที่ผู้เรียนต้องได้รับ
การกำหนดรูปแบบต่าง ๆ การกำหนดวิธีการนำหลักสูตรไปใช้
การกำหนดทิศทางรูปแบบการเรียนการสอน
ช่วยให้ผู้ใช้หลักสูตรมีความเข้าใจในกระบวนการต่าง ๆ
สามารถนำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้
4.การออกแบบที่ดีช่วยในการสื่อสารและประสานงาน
นักออกแบบที่สามารถออกแบบหลักสูตร เอกสารการสอน และคู่มือต่าง ๆ
ช่วยเพิ่มความเข้าใจในการนำหลักสูตรไปใช้ โดยอาจจะไม่ต้องใช้เวลามาจัดอบรม
เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับหลักสูตร และการนำหลักสูตรไปใช้
5.การออกแบบช่วยลดภาวะความตึงเครียด เนื่องจากการออกแบบหลักสูตรเป็น
การวางแผนสำหรับการจัดการศึกษาที่มีเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
การออกแบบหลักสูตรเป็นการสร้างพิมพ์เขียวจากสิ่งที่เป็นนามธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นรูปธรรม
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างไม่ยุ่งยาก
การออกแบบหลักสูตรประเภทต่างๆ
ได้มีการจำแนกประเภทหรือรูปแบบของหลักสูตรไว้หลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งแต่ละ
รูปแบบก็มีแนวคิดจุดมุ่งหมาย และโครงสร้างที่แตกต่างก็ออกไป
ทั้งนี้เพื่อให้หลักสูตรมีความเหมาะสมกับสถานการณ์การจัดการเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย
จึงได้มีการจัดประเภทรูปแบบของหลักสูตร ตามเกณฑ์ที่ยึดเป็นประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1.
หลักสูตรที่ยึดสาขาวิชาและเนื้อหาสาระเป็นหลัก (disciplines / subjects curriculum)กลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการจัดเนื้อหาสาระวิชาที่จะเรียน
มีรูปแบบของหลักสูตร 5 รูปแบบ ดังนี้
1.1 หลักสูตรรายวิชา หรือหลักสูตรเนื้อหาวิชา (subject matter
curriculum)
1.2 หลักสูตรกว้าง หรือหลักสูตรหมวดวิชา (broad field
curriculum) หรือหลักสูตรหลอมรวมวิชา (fusion -curriculum)
1.3 หลักสูตรสัมพันธ์วิชา หรือหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ (correlated
curriculum)
1.4 หลักสูตรแบบแกนกลาง หรือหลักสูตรแบบแกนร่วมกัน หรือหลักสูตรแบบแกน (core
curriculum)
1.5 หลักสูตรแบบบูรณาการ (integrated curriculum)
2. หลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นหลัก (learners centred) หลักการของหลักสูตรนี้ยึด
ผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดหลักสูตรเพื่อสนองความต้องการ
ความสามารถและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก มีรูปแบบของหลักสูตร 3 รูปแบบดังนี้
2.1 หลักสูตรแบบเอกัตบุคคล (individualized curriculum)
2.2 หลักสูตรแบบส่วนบุคคล (personalized curriculum)
2.3 หลักสูตรที่เน้นผู้เรียน (child – centered curriculum) หรือหลักสูตรที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(leaner – centred
curriculum)
3.
หลักสูตรที่ยึดกระบวนการทางทักษะหรือประสบการณ์เป็นหลัก (process skill or experiencecurriculum) การจัดหลักสูตรประเภทนี้เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
และให้ผู้เรียนได้รู้จักการแก้ปัญหา
ถ้าเป็นหลักสูตรที่ยึดกระบวนการเป็นหลักจะมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนมีรูปแบบของหลักสูตร
3 รูปแบบ ดังนี้
3.1 หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม
หรือหลักสูตรที่ยึดกิจกรรมกระบวนการทางสังคมและการดำรงชีวิต (socialprocess
and life function curriculum)
3.2 หลักสูตรประสบการณ์ (experience curriculum) หรือหลักสูตรแบบกิจกรรมและประสบการณ์(activity and experience
curriculum)
3.3 หลักสูตรกระบวนการ (the process approach curriculum)
3.4 หลักสูตรเกณฑ์ความสามารถ (the competency – based curriculum)